พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์



พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์

อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์ ของดีเมืองกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัด (อาคารเดิม) จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิต อาชีพหัตถกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ ห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทย ชนชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มมอญที่อพยพมาจาก เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูในแคว้นสิบสองจุไทย เคลื่อนย้ายผ่านเวียดนามและลาวข้ามฝั่งโขงมาอาศัยตั้งรกราก อยู่ทางอีสานของไทยโดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีชนเผ่า ผู้ไทยอาศัยอยู่ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ อำเภอนาคู และกิ่งอำเภอสามชัย ภายในห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ ได้จำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชน ชาวผู้ไทยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น การทอผ้า การทอเสื่อ เรือนผู้ไทย การเลี้ยงสัตว์ การทำเลือกสวนไร่นา เป็นต้น

ห้องพิพิธภัณฑ์แพรวาเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทรงสนพระทัยในความงดงามปราณีตของผ้าไหมแพรวาไว้ในโครงการศิลปชีพพิเศษ ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยิ่ง ลายแพรวาจัดทอขึ้นด้วยการทอมือเรียบเรียงเส้นสายลายไหมผูกด้วยมือ เป็นลายจำลองจากสัตว์ เรียกว่า " ลายนาคเกี้ยว " จำลองจากพืชพันธุ์ไม้เรียกว่า " ลายดอกสร้อย " จำลองจากสิ่งประดิษฐ์ เรียกว่า " ลายปราสาท " เป็นต้น

ห้องวัฒนธรรมภาพนิทัศน์

 
ส่วนที่ 1 แสดงวิถีชีวิตของชุมชนที่มีวัด พระสงฆ์และหลักธรรมทางศาสนา เป็นข้อชี้นำ อาทิเช่น การแต่งงาน พิธีกรรม สะเดาะเคราะห์ การตาย มหรสพ การละเล่น หญิงคลอดลูก หมอนวด และหมอยา
ส่วนที่ 2 แสดงศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัด แหล่งน้ำสำคัญ การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ เครื่องมือยังชีพ เครื่องมือล่าสัตว์ และเครื่องมือหัตถกรรมสตรี

ห้องเจ้าเมือง ได้รวบรวมรูปปั้นจำลองของเจ้าเมือง นับจากพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองคนแรก พระชายา พระโอรส พระญาติและได้จัดแสดงแผนผังเครือญาติสืบสกุลมาจากเจ้าเมือง ซึ่งรวมถึงเมืองกมลาไสย เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองภูแล่นช้าง และเมืองสหัสขันธ์ จนมีบุตรหลานสืบสกุลหลายสาย ที่ยังเป็นนามสกุลของคนเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน

ห้องคนดีศรีกาฬสินธุ์ รวบรวมบุคคลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สมควรได้รับการยกย่องด้วยทำคุณาปการแก่บ้านเมือง เป็นคนดีศรีกาฬสินธุ์

ห้องพระพุทธมิ่งเมืองกาฬสินธุ์ รวบรวมพระเครื่อง และวัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์

ห้องปลอดยาเสพติด จัดแสดงแผนกลยุทธุ์ของจังหวัด ในการต่อสู้เพื่อชนะยาเสพติดจนได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่สามารถประกาศเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด ประกาศเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2545

ห้องแสดงผลงานจิตรกรรมของ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ได้แก่
- ภาพพระอาทิตย์ทรงกรด
- ภาพกิจกรรมไทยเรื่องทศชาติชาดก
- ภาพชาดกที่จัดประกอบการแสดง
ลงสีน้ำฝนและศิลปะตะวันตก ที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ห้องจำหน่ายของดีเมืองกาฬสินธุ์ ได้แก่ เครื่องแต่งกายจากผ้าพื้นเมือง ขนมสินค้าที่ชุมชน และประชาชนกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดนำมาฝากขาย

ห้องผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ควรแก่การศึกษา เพราะได้จัดแสดงกระบวนการผลิต การปลูกและการนำผลผลิตจากมันสำปะหลังผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ

ห้องผลิตภัณฑ์จากอ้อย จัดแสดงถึงกระบวนการตั้งแต่การปลูกอ้อย การบำรุงรักษาโรคแมลของอ้อย และผลผลิตจากอ้อย ได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาลหลายรูปแบบส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ อาทิเ ช่น
หอเจ้าบ้านกาฬสินธุ์ ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับศาลหลักเมือง ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองกาฬสินธุ์และผู้คนที่มาอาศัยทำมาหากินในเมือง
กาฬสินธุ์ เคารพกราบไหว้บูชา บนบานขอพรและจัดบวงสรวงเป็นประจำทุกปีในเดือนหก โดยมีพิธีทางศาสนาและพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่ ศาลหลักเมือง หอเจ้าบ้าน อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ศาลปู่แฮ่ ศาลปู่หาร ศาลปู่กุลาบุญโฮม และศาลปู่โง้ง ตั้งแต่สมัยการก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์สืบมาทุกปี

พิพิธภัณฑ์ของดี เมืองกาฬสินธุ์ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลาราชการหยุดเฉพาะวันจันทร์ การเข้าชมเป็นหมู่คณะหากท่านติดต่อมาเป็นทางการล่วงหน้า จะมีพิธีกรบรรยายสรุปและนำชมโดยมัคคุเทศก์น้อยของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ หรือสอบถามการเข้าชมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริเวณทางเข้าภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
สอบถามรายละเลียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โทร 0 4382 1354-6 ต่อ 106



วงเวียนโปงลาง

อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์วง เวียนโปงลาง ตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์เมืองกำเนิดโปงลาง เครื่องดนตรี โดยศิลปินแห่งชาติ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ผู้ประดิษฐ์ขึ้นจากเกราะหรือกะลอสมัยโบราณ นำมาประยุกต์ทำเป็นไม้ 13 ท่อน ทำจากไม้มะหาด เรียงร้อยเป็นเครื่องตี ปัจจุบันโปงลางแพร่หลายไปทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศที่คนไทยไปอาศัยอยู่และนำไปเผยแพร่ วงเวียนโปงลางสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงดนตรี เพลงลายเต้ยโขง และลายลมพัดพร้าว ณ วิทยาลัยนาฎศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533


วนอุทยานภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ )

อำเภอนาคู จ.กาฬสินธุ์ วนอุทยาน ภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ ) ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่นกระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย การเดินทาง จากอำเภอเมือง ใช้เส้นทางไปอำเภอสมเด็จ(ทางหลวงหมายเลข 213 ) ถึงอำเภอสมเด็จเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอกุฉินารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 2042 ) ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยผึ้ง เลี้ยวซ้ายไปกิ่งอำเภอนาคู (ทางหลวงหมายเลข 2101 ) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานภูแฝกประมาณ 4.7 กิโลเมตร


แหลมโนนวิเศษ

อำเภอสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ แหลม โนนวิเศษ เป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต. โนนบุรี อ. สหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมาก ปัจจุบันแหลมโนนวิเศษมีแพขนานยนต์ ที่ใช้สัญจรข้ามฟากระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ. หนองกุงศรี จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ทั้งรถ 6 ล้อ และ 4 ล้อ ครั้งละ 4-10 คัน ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 15–20 นาที


วนอุทยานภูพระ 

อำเภอท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ วนอุทยาน ภูพระ อยู่ที่ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จากตัวเมืองใช้เส้นทาง อำเภอเมือง-อำเภอยางตลาด-อำเภอท่าคันโท อยู่ห่างจากตัวเมืองท่าคันโทไป 4 กิโลเมตร ภายในวนอุทยานประกอบด้วย สวนหินรูปร่างแปลกตาอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรัง ครอบคลุมพื้นที่ 65,900 ไร่
ภายในวนอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่
ผาเสวย เป็นลานหินผากว้าง มีความลึกของหน้าผาประมาณ 150-200 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ถ้ำเสียมสับ เป็นถ้ำของหินผาที่มีลักษณะคล้ายเสียมที่ขุดลงหิน ซึ่งเมื่ออยู่หน้าปากถ้ำจะเห็นหินผาที่สูง ถ้ำพระรอด เป็น ถ้ำที่เกิดจากการแยกตัวของหินผา ภายในถ้ำมีทางเดินกว้างประมาณ 2 เมตร ระยะทางประมาณ 30 เมตร ในสมัยก่อนจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ผาหินแยก เป็นหน้าผาที่แยกตัวเป็นทางยาวประมาณ 20 เมตร ลึก 6 เมตร ซึ่งผาที่แยกตัวออกมาจะมีลักษณะเอนเอียงเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้ ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำกว้าง 15 เมตร มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และราษฎรในท้องถิ่นต่างให้ความเคารพสักการะเป็น อย่างยิ่ง ในช่วงสงกรานต์จะมีงานเดินขึ้นภูพระเพื่อสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี การเดินทาง จากอำเภอท่าคันโท ใช้ทางหลวงหมายเลข 2299 กิโลเมตรที่16 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถประจำทางสายอุดรธานี-กาฬสินธุ์ ลงที่วัดสว่างถ้ำเกิ้งซึ่งอยู่บริเวณหน้าวนอุทยานฯ


กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หนองห้าง

อำเภอกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ กลุ่ม หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หนองห้าง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองห้าง ต. หนองห้าง ห่างจากอำเภอกุฉินารายณ์ประมาณ 10 กม. จากที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ไปตามถนนหมายเลข 2042 ประมาณ 2 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดยางประมาณ 8 กม. ชาวบ้านที่นี่มีฝีมือในการจักสานไม้ไผ่เป็นลวดลายผ้าขิด ฝีมือประณีตสวยงามมาก ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กระเตาะ กระติ๊บ กระเป๋า และภาชนะต่างๆ


น้ำตกแก้งกะอาม

อำเภอสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์น้ำตก แก้งกะอาม บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 213 ประมาณ 55 กิโลเมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ทางหลวงแผ่นดิน


บ้านลุงเปลื้อง ฉายรัศมี

อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ ลุง เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีพื้นบ้าน ประจำปี พ.ศ.2529 ภายในบ้านจัดแสดงการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านหลายชนิด เช่น พิณ แคน ซอ โปงลาง เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ได้ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ จังหวัดกาฬสินธุ์ วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4382 0366 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น